เมนู

บทว่า กาลมกาสิ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์หลีกไป ภิกษุโกกาลิกได้
ทำกาละแล้ว. บทว่า ปทุมนิรยํ ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกไม่มีเฉพาะแต่
อย่างเดียว. ภิกษุโกกาลิกเกิดในที่หนึ่งในอวิจีมหานรกที่จะพึงหมกไหม้ โดย
การคำนวณปทุมหนึ่ง (ปุทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ 124 สูญ).
บทว่า วีสติขาริโก ได้แก่ 4 แล่งชาวมคธ เป็น 1 แล่ง ในโกศล
รัฐ. 4 แล่ง โดยแล่งนั้น เป็น 1 อาฬหกะ อาฬหกะ เป็น 1 โทณะ
(ทะนาน). 4 โทณะ เป็น 1 มานิกะ (เครื่องตวง). 4 มานิกะ เป็น 1 ขาริ
โดยขารินั้น เป็น 20 ขาริกะ. บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา
เมล็ดเล็ก ๆ ของชาวมคธะ บทว่า อพฺพุโท นิรโย ได้แก่ ที่ชื่อว่า อัพพุทะ
มิใช่ส่วนหนึ่งแห่งนรก. แต่คำนี้เป็นชื่อสถานที่จะพึงไหม้ในอวิจีมหานรก
นั่นเองโดยการนับอัพพุทะ. แม้ในคำว่า นิรัพพุทะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน
ก็แม้จำนวนปีในข้อนี้ ก็พึงทราบอย่างนี้. เหมือนอย่างว่า ร้อยแสน
เป็นโกฏิหนึ่ง ฉันใด ร้อยแสนโกฏิ ชื่อว่า เป็นปโกฏิหนึ่ง ฉันนั้น ร้อย-
แสนโกกิ เป็นโกฏิปโกฏิ ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็นเหตุหนึ่ง ร้อยแสนนหุต
เป็นนินนหุต ร้อยแสนนินนหุต เป็นอัพพุทะหนึ่ง จากนั้น เอายี่สิบคูณเป็น
นิรัพพุทะหนึ่ง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้เหมือนกันแล.
จบอรรถกถาทุติยโกกาลิกสูตรที่ 10
จบปฐมวรรคที่ 1


รวมพระสูตรในปฐมวรรคนี้ มี 10 สูตร คือ


1. อายาจนสูตร 2. คารวสูตร 3. พรหิมเทวสูตร 4. พกพรหม
สูตร 5. อปราทิฏฐิสูตร 6. ปมาทสูตร 7. ปฐมโกกาลิกสูตร 8. ติสสกสูตร
9. ตุทุพรหมสูตร 10. ทุติยโกกาลิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.